วงจรของโดเมนเนม (Domain Name Life Cycle)

Domain Name Life Cycle วงจรของโดเมนเนม ที่เจ้าของเว็บไซต์และเจ้าของโดเมนเนมควรทราบเอาไว้


โดเมนเนมคือชื่อที่สื่อถึงเว็บไซต์, ธุรกิจ หรือ หน่วยงานของเรา และเป็นตัวนำพาผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ของเราเพื่อจุดประสงค์หลักๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ โฆษณา หรือ เป็นช่องทางในการดำเนินธุรกิจ ซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการ บทความนี้จะมาแนะนำถึงวงจรชีวิตของโดเมนเนม เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ทุกท่าน

1. Available Domain Names (โดเมนเนมมีสถานะว่าง สามารถทำการจดทะเบียนได้)
โดเมนเนมจะเริ่มต้นในขั้น Available Domain Names ในช่วงนี้ถือเป็นขั้นแรกของโดเมนเนมที่ผู้ใช้งานสามารถทำค้นหาชื่อที่ต้องการและจดทะเบียนโดเมนเนมผ่านผู้ให้บริการรับจดโดเมนเนม (Registrar) โดยจะมีระยะเวลาในการจดทะเบียนตั้งแต่ 1-10 ปี (ราคาในการจดทะเบียนอาจแตกต่างกันไป)

2. Registered Period (โดเมนเนมถูกจดทะเบียนไปแล้ว)
ในขั้นนี้ โดเมนเนมได้ถูกจดทะเบียนไปแล้วตามระยะเวลาที่ผู้จดทะเบียนได้ทำการชำระเงิน (1-10 ปี) และจะสามารถทำการย้ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่นได้หลังจากผ่านช่วงเวลาที่ผู้ให้บริการรับจดโดเมนเนม (Registrar) เจ้าเดิมกำหนดไว้ และเจ้าของโดเมนเนมสามารถทำการต่ออายุได้ในช่วงนี้ โดเมนเนมที่ทำการจดทะเบียนแล้วจะไม่สามารถทำการแก้ไขชื่อได้อีก หากพบว่าชื่อโดเมนเนมที่จดไปแล้วผิดพลาด ไม่ตรงกับที่ต้องการ ต้องทำการจดชื่อใหม่เท่านั้น

3. Expired Period (โดเมนเนมหมดอายุ)
ในกรณีที่โดเมนเนมไม่ได้รับการต่ออายุตามกำหนด เมื่อเลยกำหนดแล้วจะไม่สามารถเรียกใช้งานโดเมนเนมได้อีก และในช่วงนี้โดเมนเนมจะไม่สามารถทำการโอนย้ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่นได้ อย่างไรก็ตามหลังจากวันหมดอายุแล้วจะมีช่วงเวลาสำหรับการต่ออายุในราคาปกติอีก 30-45 วัน (ขึ้นอยู่กับ Registrar)

4. Redemption Grace Period (ช่วงเวลาไถ่ถอนโดเมนเนม)
หลังจากผ่านพ้นระยะ Expired Period 30-45 วันมาแล้ว โดเมนเนมจะถูกยึดไว้อีก 30 วัน โดยหากต้องการต่ออายุเพื่อใช้งานโดเมนเนมในช่วงนี้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนที่แพงกว่าราคาปกติมาก (ประมาณ 10-15 เท่า ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ)

5. Pending Delete Period (รอลบออกจากระบบ)
หลังจากผ่านช่วง 30 วันของ Redemption Grace Period ไปแล้ว โดเมนเนมจะยังคงถูกยึดไว้อีกประมาณ 5 วัน ในช่วงนี้จะไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับโดเมนเนมได้นอกจากรอและรอ และหลังจากครบกำหนด 5 วัน โดเมนเนมก็จะถูกลบออกจากระบบ

6. Deleted and Active (ลบออกจากระบบเพื่อจดใหม่ได้อีกครั้ง)
หลังจากผ่านช่วง Pending Delete Period มาแล้วโดเมนเนมก็จะถูกลบออกจากระบบและเมื่อทำการค้นหาก็จะพบว่าสามารถทำการจดโดเมนเนมในชื่อเดิมได้ใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตามหากโดเมนเนมเป็นชื่อที่เป็นที่ต้องการของตลาด ก็จะพบว่าโดเมนเนมอาจถูกชิงจดไปโดยผู้อื่น เพื่อนำโดเมนเนมนั้นไปขายต่อในราคาที่สูงกว่า

ผลเสียจากการที่เราปล่อยให้โดเมนเนมของเราหมดอายุอาจจะมีมากจนคาดไม่ถึง ในบางครั้งพบว่าเจ้าของเว็บไซต์ลืมต่ออายุโดเมนเนม ทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถเรียกชมได้ และในการต่ออายุโดเมนเนมที่หมดอายุไปแล้วอาจต้องรอถึง 48 ชั่วโมง เพื่อให้ DNS อัพเดทจึงจะสามารถเรียกชมเว็บไซต์ได้อีกครั้ง เพียงแค่ 1-2 วันที่ไม่สามารถเข้าเว็บได้อาจส่งผลต่อธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล เพราะฉะนั้นควรหมั่นตรวจสอบอีเมล์แจ้งเตือนการต่ออายุโดเมนเนมจากผู้ให้บริการและทำการต่ออายุโดเมนเนมล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนหมดอายุ เพื่อหลีกเลี่ยความเสียหายที่อาจเกิดกับธุรกิจของเรา 


Reference: 
-http://blog.resellerclub.com/lifecycle-of-a-domain-name
-https://www.icann.org/resour…/…/gtld-lifecycle-2012-02-25-en

  • domain, โดเมนเนม
  • 0 Benutzer fanden dies hilfreich
War diese Antwort hilfreich?

Verwandte Artikel

เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม.co.th

เอกสารที่สามารถใช้อ้างอิงการการจดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้ .CO.TH...

เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม ac.th

โดเมนเนม ac.th สำหรับสถาบันการศึกษา ผู้สมัครขอจดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้หมวดหมู่นี้...

การย้ายโดเมนเนม .th มาใช้บริการกับ Plathong.NET

ในกรณีที่หน่วยงานต้องการย้ายโดเมนเนม .th (ซึ่งจดทะเบียนไว้กับผู้ใช้บริการรายอื่น)...

เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม go.th

เอกสารที่สามารถใช้อ้างอิงการการจดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้ .GO.TH คือ...